วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

การตัดเค้กงานแต่งงาน

เค้กแต่งงานถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่จะขาดไม่ได้ในพิธีแต่งงาน ในสมัยแรกเริ่มจะใช้ข้าวสาลีที่เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญรุ่งเรืองโปรยใส่เจ้าสาว แล้วให้หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่ครองแย่งกันเก็บเมล็ดข้าวสาลี

เพื่อประกันว่าพวกเธอจะได้แต่งงานในไม่ช้า เช่นเดียวกับการแย่งช่อดอกไม้ของเจ้าสาวในยุคปัจจุบัน ต่อมาในช่วง 100 ปีก่อนศริสต์ศักราช ได้เปลี่ยนจากการปาเมล็ดขสาลีมาเป็นการอบขนมเค้กชิ้นเล็กๆ ที่ทำจากข้าวสาลีแจกให้แขกที่มาในงานรับประทาน แต่แขกที่มาร่วมงานยังต้องการความสนุนสนานจากการปาเมล็ดข้าวสาลีใส่เจ้าสาว จึงเปลี่ยนมาเป็นการโยนเค้กที่แจกในงานใส่เจ้าสาวแทน

หลังจากนั้นได้ลดความรุนแรงในการปาเค้กมาเป็นการละเลงขนมเค้กบนศรีษะของเจ้าสาว แล้วใช้คู่บ่าวสาวรับประทานขนมเค้กที่ถูกละเลงร่วมกันแล้วจิบเหล้าที่เรียกว่า เหล้าเจ้าสาวตามไปด้วย ประเพณีนี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ต่อมาเป็นช่วงภาวะข้าวยากหมากแพง จึงได้เปลี่ยนไปเป็นการปาเมล็ดข้าวสาลีเช่นเดิม ขนมเค้กที่เคยอบอย่างดีก็เปลี่ยนเป็นขนมปังกรอบชิ้นเล็กๆแทน ต่อจากนั้นก็ได้มีธรรมเนียมให้นำขนมปังมาวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ

เชื่อกันว่ายิ่งกองสูงเท่าใดยิ่งดี เพราะจะแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของคู่สมรสในอนาคต หลังจากนั้นในช่วงสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 มีพ่อครัวชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งได้ไปเที่ยวกรุงลอนดอนและเห็น พิธีกองเค้กแล้วอาจมีการล้มพังลงมาได้ เขาจึงได้คิดทำขนมเค้กก้อนใหญ่เป็นชั้นๆ เคลือบด้วยน้ำตาลไอซิ่ง แทนจากนั้นก็ได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมาจนเป็นเค้กแต่งงานที่เราเห็นในปัจจุบันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น