วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

10 ภาษาที่ใช้มากที่สุดในโลก

10 ภาษาที่ใช้มากที่สุดในโลก

ภาษาที่ประชากรโลกใช้ พูดสื่อสารติดต่อกันมากที่สุด 10 ลำดับ มีดังนี้...

อันดับ 1 จีนแมนดาริน ..... 1.3พันล้านคน
อันดับ 2 ฮินดี.... 480 ล้านคน
อันดับ 3 สเปน.... 420 ล้านคน
อันดับ 4 อังกฤษ... 380 ล้านคน
อันดับ 5 โปรตุเกส.... 230 ล้านคน
อันดับ 6 อาหรับ...... 206 ล้านคน
อันดับ 7 เบงกาลี..... 196 ล้านคน
อันดับ 8 รัสเซีย ..... 145 ล้านคน
อันดับ 9 ญี่ปุ่น ..... 126 ล้านคน
อันดับ 10 ปัญจาบ ... 104 ล้านคน

ส่วน ไทยของเรา เป็นอันดับที่ 24 มีคนใช้ 60 ล้านคน ในประเทศไทย




ภาษาอื่นๆที่นิยมเรียนกันในไทย


ฝรั่งเศส - - - เป็นอันดับที่ 15 มี่คนใช้ 109 ล้านคน
เป็นภาษาราการของ - - - ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบริ์ก แคนนาดา โมร็อคโค
ประเทศ แถบทวีปแอฟฟริกาตะวันตก ตั้งแต่แอลจีเรีย ถึง กาบอง(ประมาณ 10 กว่าประเทศ)
และ เฟรนเกียร์น่าในอเมริกาใต้

เยอรมัน - - - เป็นอันดับที่ 11 มีคนใช้ 110 ล้านคน
เป็นภาษาราชการของ - - - เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก สหภาพยุโรป ภาษาราชการ บางพื้นที่ของ เดนมาร์ก อิตาลี โปแลนด์ (ในอดีต นามิเบีย ถึงปี ค.ศ. 1990)

เกาหลี - - - เป็นอันดับที่ 12 มีคนใช้ 80 ล้านคน
เป็นภาษาราชการของ - - - เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้

อิตาลี - - - เป็นอันดับที่ 19 มีคนใช้ 70 ล้านคน
เป็นภาษาราชการของ - - -อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ซานมารีโน สโลวีเนีย (บางดินแดน) นครรัฐวาติกัน เทศมณฑลอิสเตรีย (โครเอเชีย)
บาลี – สันสกฤต - - - มีนคนใช้เป็นภาษาหลัก 2 แสนคน ในประเทศอินเดีย

นิสัยของคนไทย ในสายตาคนต่างชาติ

นิสัยของคนไทย ในสายตาคนต่างชาติ
จุดอ่อนของคนไทยที่เพื่อนร่วมงานคนต่างชาติเห็น
หลังจากที่ผมได้มีโอกาสเขียนคอลัมน์ชื่อ Bridging the Gap ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ในส่วนของ Business Section ซึ่งตีพิมพ์ทุกวันศุกร์มาตั้งแต่ปลายปี 2543 ซึ่งคอลัมน์มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่มีผลกระทบในการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นที่จะช่วยให้ความรู้กับชาวต่างชาติ เพื่อให้เขาทำงานร่วมกันกับชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะช่วยลดความเครียดของชาวไทยที่ทำงานร่วมกับชาวต่างชาติเหล่านั้น เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ผมได้ออกแบบสอบถามไปยังผู้อ่านคอลัมน์ Bridging the Gap ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทางอีเลคทรอนิคเมล์ (Email) โดยส่งออกไปประมาณสามสิบท่านแยกเป็นชาวไทยและต่างชาติจำนวนเท่าๆกัน มีผู้ตอบรับเป็นชาวไทยห้าท่านและชาวต่างชาติเจ็ดท่าน จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามแม้ว่าจะมีไม่มากนักซึ่งไม่ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็ได้ภาพสะท้อนมุมมองในเชิงคุณภาพ ซึ่งผมเห็นว่าสอดคล้องกับสิ่งที่เคยได้รับฟังมาจากชาวต่างชาติทั่วๆไป

บทความต่อไปนี้คือบางส่วนที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับชาวไทย โดยเป็นผลคำตอบจากคำถามที่ถามว่า “ในฐานะที่ท่านเป็นชาวต่างชาติ ท่านคิดว่าพฤติกรรมหรือบุคลิกเรื่องใดบ้างที่เป็นจุดอ่อนของเพื่อนร่วมงานชาวไทยในที่ทำงาน ซึ่งท่านคิดว่าอยากให้เขาเลิกพฤติกรรมหรือเปลี่ยนบุคลิกเหล่านั้นเสีย” สิ่งที่ชาวต่างชาติคิดว่าเป็นจุดอ่อนของชาวไทยในที่ทำงานมีดังต่อไปนี้

ทัศนคติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง
- ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ชาวไทยชอบที่จะยึดติดกับวิธีการทำงานรูปแบบเดิมๆ การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานใหม่ๆมักจะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญใจและรบกวนพวกเขาเสมอ

กล้าพูด / กล้าแสดงออก / กล้าแสดงความคิดเห็น / กล้าถาม Assertiveness / Initiative
- ไม่พูดในสิ่งที่ควรพูดเมื่อเวลาทำการเจรจาต่อรอง (น่าจะหมายความว่าเกรงใจไม่กล้าเจรจาต่อรอง โดยยอมปล่อยให้อีกฝ่ายได้เปรียบเมื่อเจรจาต่อรองทั้งๆที่ทราบ แต่ไม่กล้าจะพูดออกมา)

ไม่สามารถจะพูดสิ่งที่ควรพูดออกมาในช่วงเวลาที่ควรพูด
- ไม่กล้าที่จะเสนอแนะความเห็นเพื่อให้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
- อยากให้ชาวไทยกล้าที่จะถามมากว่านี้ ถามหากสงสัย ถามหากไม่แน่ใจ โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับเป้าหมายของงาน

Accountability / Commitment / Ownership
- ความผูกพันรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ค่อยยอมตั้งเป้าหมายในขณะที่งานบางอย่างนั้นจะต้องทำให้ลุล่วงภายในกำหนดเวลา
- ไม่ยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร
- รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ แทนที่จะวางแผนป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิด (ต้องให้มีการสั่งเสมอ)

คอยบอกแต่ข่าวดี
- ไม่บอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งปัญหาบานปลายไปเกินแก้ไขได้ เช่นบางครั้งเรื่องเล็กน้อยไม่แจ้งให้ผู้บริหารทราบจนถึงขั้นพนักงานเกือบจะสไตร์คไปแล้ว
- บอกในสิ่งที่คิดว่าผู้บังคับบัญชาต้องการฟัง มีแต่เรื่องดีๆ แทนที่จะบอกเล่าไปตามความเป็นจริง เช่นบอกว่า “งานนี้ผมทำเสร็จแน่นอนครับอาทิตย์หน้า″ แต่พอถึงเวลาจริงๆกลับไม่เสร็จ และในความเป็นจริงไม่เคยเสร็จตามวันเวลาที่รับปากไว้เลย
- ไม่กล้าที่จะบอกว่า “มีปัญหาเกิดขึ้น”

ไม่เป็นไร Pro-active / Mai pen rai / Wait and see
- รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ แทนที่จะวางแผนป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิด (ต้องให้มีการสั่งเสมอ)
- ทักษะในการวิเคราะห์ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
- ไม่สุขุมรอบคอบและไม่มองการณ์ไกล

การบริหารเวลา
- คนไทยมีจุดอ่อนในเรื่องการตรงต่อเวลา และการบริหารเวล